วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)



ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา


        - ร่างกายประกอบ ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ)แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ ของความเป็นสิ่งมีชีวิตื ได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ 
       - ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) 
       - การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer) 
       - โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ 
        - การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
        - การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น

 สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม คือ

  1. ไฟลัมโพรโทซัว (Phylum Protozoa)


               ลักษณะสำคัญ 
               เป็นโปรตีสต์ที่มีขนาดเล็ก มีเซลล์เป็นแบบยูคาริโอต (Eucaryotic cell) ประกอบด้วยเซลล์เพียง เซลล์เดียวและมีลักษณะคล้ายสัตว์ ทั้งนั้นในตอนแรกจึงจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์และเป็นไฟลัมแรกเรียกว่าไฟลัมโปรโตซัว แต่ในการแบ่งโดยการยกโปรโตซัวมาไว้ในอาณาจักรโปรตีสตา จึงทำให้การแบ่งโปรโตซัวออกตามโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนแบ่งออกได้เป็น 3 Class คือ

             - Class Flagellata

             - Class Sarcodina

             - Class Ciliata


  2. ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta) 

ได้แก่สาหร่ายสีเขียว ( green algae) มีทั้วหมดประมาณ 17,500 สปีชีส์ พบอยู่ในน้ำจืดมากกว่าในน้ำเค็ม พบในดินที่เปียกชื้น แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ และในทะเล แหล่งที่พบ พบทั่วไปตามน้ำจืด และในทะเล เช่น อะเซตาบูลาเรีย (มีมากเกิดปรากฎการณ์ เรียกว่า วอเตอร์บลูม


  3. ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta) 

ได้แก่พวกสาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง หรือสาหร่ายสีทอง 
แหล่งที่พบ พบได้ทั่วไปทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม


                 ลักษณะสำคัญ

                 1. สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง ( goldenbrown algae ) มีประมาณ 16,600 สปีชีส เป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในทะเล 

                 2. รงควัตถุที่พบในเซลล์มีรงควัตถุสีเขียว คือ คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี และมีรงควัตถุสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทิน (Fucoxanthin) ซึ่งมีมากที่สุดถึง 75 % ของรงควัตถุทั้งหมด และลูเทอริน (Luthein) ปริมาณมากกว่าคลอโรฟิลล์จึงทำให้มีสีน้ำตาลแกมทอง

                 3. มีทั้งพวกเซลล์เดียวและหลายเซลล์อยู่กันเป็นสายหรือรวมเป็นกลุ่ม

                 4. ผนังเซลล์มีสารพวกซิลิกา (Sillica) สะสมอยู่ประมาณ 95% ทำให้มีลวดลายสวยงามมาก ผนังเซลล์ที่มีซิลิกาเรียก ฟรุสตุล (Frustule) ฟรุสตุลประกอบด้วย ฝา 2 ฝา ครอบกันอยู่สนิทแน่น แต่ละฝาเรียกทีกา (Theca) ฝาบนเรียก อีพิทีกา (Epitheca) มีขนาดใหญ่กว่าครอบอยู่บนฝาล่างซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เรียก โฮโปทีกา (Hypotheca) 

                  5. อาหารสำรองภายในเซลล์คือ หยดน้ำมัน (Oil droplet) และเม็ดเล็ก ๆ ของสารประกอบคาร์โบโฮเดรตชนิดพิเศษ เรียกว่า ลิวโคซิน (Leucosin) หรือ คริโซลามินารีน (Chrysolaminarin)

                 6. การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนที่พบเสมอ ๆ ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบอาศัยเพศ 


  4. ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta)

สาหร่ายในดิวิชันนี้เรียกว่า ยูกลีนอยด์ (euglenoid) ซึ่งจัดเป็นโปรโตซัวในคลาสแฟลก เจลลาตาด้วย แหล่งที่พบ ในน้ำจืด ในดินชื้นแฉะ


              ลักษณะสำคัญ
              1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด คลอโรฟิลล์ เอและบี และมีคาโรทีน แซนโทฟิลล์ด้วย
              2. อาหารสะสมเป็นพวกแห้ง (starch) เช่นเดียวกับพืชชั้นสูงทั่วไป
              3. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลส บางชนิดอาจมีแคลเซียมและซิลิคอนปนอยู่ด้วย
              4. มีแฟลกเจลลา 1,2 หรือจำนวนมาก อยู่ทางด้านหน้าสุดของเซลล์
              5. ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ได้แก่
                     - พวกเป็นกลุ่มเคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ซินเดสมัส (Scenedesmus) เพดิแอสตรัม (Pediastrum)
                     - พวกเป็นกลุ่มเคลื่อนที่ได้ เช่น วอลวอก (Volvox)  ยูกลีนอยด์ (euglena)
                     - พวกที่เป็นเซลล์เดียวเคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น คลอสทีเรียม (Closterium)


  5. ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) 

ได้แก่พวก สาหร่ายสีน้ำตาล แหล่งที่พบ ในน้ำเค็ม 

             ลักษณะสำคัญ
               1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด a และ c และมีคาโรทีน ฟิวโคแซนทีนด้วย จึงทำให้มองดูเป็นสีน้ำตาล
               2. อาหารสะสมเป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ เรียกว่า ลามินาริน (laminarin)
               3. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและพวกกรดอัลจินิก (alginic acid)
               4. มีส่วนที่คล้ายรากเรียกว่า hold fast ใช้ในการยึดเกาะกับสิ่งที่เป็นพื้นผิวที่เจริญอยู่ ส่วน
              ที่คล้ายลำต้นเรียกว่า stipe ส่วนที่คล้ายใบเรียกว่า blade เป็นสาหร่ายขนาดใหม่เจริญอยู่ในทะเล จึงถูกเรียกว่า วัชพืชทะเล (sea weed)
              

  6. ไฟลัมไพรโรไฟตา (Phylum Pyrrophyta)

  มักเรียกกันว่า ไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellate)

               ลักษณะสำคัญ 
               1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิดเอและซี คาร์โรทีน แซนโทฟิลล์
               2. ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลสและสารที่เป็นเมือก บางชนิดอาจไม่มีผนังเซลล์
               3. ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยวมีแฟลกเจลลา 2 เส้น เส้นหนึ่งใช้ในการเคลื่อนที่และอีกเส้นหนึ่งพันอยู่รอบเซลล์
               4. ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ได้แก่
                   - ซีราเตียม (Ceratium) นอคติลูกา(Noctiluca) จิมโนดิเนียม ( Gymnodinium) โกนีออแรกซ์ (Gonyaulax) 


  7. ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta)

ได้แก่พวก สาหร่ายสีแดง แหล่งที่พบ ส่วนใหญ่พบในทะเล

              ลักษณะสำคัญ 
               1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิดเอและดี คาร์โรทีน แซนโทฟิลด์และไฟโคอิริทริน (Phycoerythrin) ซึ่งเป็นสารสีแดง จังทำให้สาหร่ายพวกนี้มีสีแดง
               2. อาหารสะสมเป็นแป้งมีชื่อเฉพาะว่า ฟลอริเดียนสตาซ (floridean starch) 
               3. ผนังเซลล์เป็นสารเซลลูโลส โพลี่แซคคาไรด์ที่เป็นเมือกบางชนิดมี Ca ด้วย
               4. ส่วนใหญ่อยู่ในทะเลมีบางชนิดเท่านั้นที่อยู่ในน้ำจืด


  8. ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta)

สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ พวกที่มีเซลล์เดียว ได้แก่ยีสต์ และพวกที่มีหลายเซลล์ คือ เห็ด รา ซึ่งจะมีส่วนประกอบ ประกอบด้วยเซลล์เส้นใย ที่เรียกวา ไฮฟา (hypha) กลุ่มของไฮฟาเรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium) ไฮฟาจะเป็นตัวยึดให้เห็ดติดแน่นอยู่กับแหล่งที่อยู่ ส่วนปลายของไฮฟาจะมีการสร้างสปอร์ เมื่อสปอร์แก่ก็จะปลิวไปตกยังที่ต่าง ๆ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม ก็จะงอกเป็นไฮฟาใหม่อีก เจริญเติบโตต่อไป  แหล่งที่พบ ส่วนใหญ่พบในทะเล

             ลักษณะสำคัญ
             1. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucariyotic cell) ส่วนมากมีหลายเซลล์ ยกเว้น ยีสต์ซึ่งมีเซลล์เดียว 
             2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้ ต้องใช้อาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
             3. ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส ไคติน (chitin) และลิกนิน 
             4. ร่างกายประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใย เส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) เส้นใยเหล่านี้มักรวมกันเป็นกระจุกเรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) ในเห็ดเส้นใยมาอัดกันอยู่แน่นเป็นโครงสร้างสำหรับสร้างสปอร์ คือ ฟรุดติง บอดี (Fruiting body) ที่เรียกกันว่าดอกเห็ดนั่นเอง ยกเว้นในยีสต์ที่มีเพียงไฮพาเพียงอันเดียว เพราะมีเซลล์เดียว ไฮพาทำหน้าที่หลั่งน้ำย่อย ย่อยซากสิ่งมีชีวิต และสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้อีกด้วย เส้นใยของราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
             5. รามีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัย เพศและแบบไม่อาศัยเพศ แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัว (fission) การแตกหน่อ (budding) การหักหรือขาดออกของสาย (fragmentation) และการสร้างสปอร์ (spore formation) สำหรับแบบอาศัยเพศโดยการเทียบสาย (conjugation) แล้วมีการเคลื่อนตัวของไซโตปลาสซึม และนิวเคลียสเข้าผสมกัน เห็ดราเป็นผู้ย่อยอินทรียสารที่สำคัญมาก แต่ก็มีบางชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์ เช่น ทำให้อาหารบูดเสีย ทำให้เกิดโรคแก่สัตว์และพืช ทำให้บ้านเรือน เสื้อผ้า และเครื่องใช้เสียหาย เป็นต้น 


  9. ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)

  เป็นโปรตีสต์ที่มีช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์และช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ ราเมือก (Slime mold) เป็นต้น แหล่งที่พบ ส่วนใหญ่พบในทะเล

               ลักษณะสำคัญ
               1. มีเซลล์เป็นแบบยูคาริโอต ไม่มีผนังเซลล์ไม่มีคลอโรฟิลล์ประกอบด้วยกลุ่มของโปรโตปลาสซึมที่แผ่กระจายมีลักษณะเป็นเมือก
               2. การสืบพันธุ์มีวงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์สลับกับวงชีวิตคล้ายพืช คือ ในภาวะปกติ ของชีวิต มีลักษณะเป็นกลุ่มของโปรโตปลาสซึมแผ่กระจายคล้ายแผ่นวุ้น เซลล์แต่ละ เซลล์ไม่มีผนังกั้น จึงทำให้นิวเคลียสกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ มองดูคล้ายร่างแหเรียกว่าระยะ พลาสโมเดียม (plasmodium) สามารถกินอาหารและเคลื่อนที่ได้แบบ อะมีบา(amoebiod movement) พอถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือก จะสร้างอับ สปอร์ (sporangium) ซึ่งภายในสปอร์ที่มีผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเช่นเดียวกับพืช